ดูหน้า

General & Advanced Soft Skills - กลยุทธ์การบริหารความขัดแย้งอย่างมีประสิทธิภาพ

กลยุทธ์การบริหารความขัดแย้งอย่างมีประสิทธิภาพ

(Effective Strategic Conflict Management)

ดาวน์โหลดไฟล์ PDF

 

หลักการและเหตุผล

การปฏิบัติงานร่วมกันเป็นทีมย่อมหลีกเลี่ยง “ความขัดแย้ง” ไปไม่ได้ แต่เราสามารถปรับเปลี่ยนความขัดแย้งให้กลายเป็นความคิดเห็นที่แตกต่างอย่างสร้างสรรค์ได้ เพราะความคิดที่หลากหลาย ย่อมนำไปสู่วิธีการที่เหมาะสมในการพิชิตเป้าหมายมากกว่าการใช้เพียงวิธีใดวิธีหนึ่งเพียงอย่างเดียว หากเข้าใจธรรมชาติของความขัดแย้งและสาเหตุที่เกิดความขัดแย้งแล้ว เราย่อมมีวิธีบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์ขึ้นได้

หลักการบริหารความขัดแย้งคือ การปรับแนวความคิดที่แตกต่างให้มุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน แล้วเลือกวิธีการที่ดีที่สุดในการบรรลุเป้าหมายร่วมกัน เมื่อคู่กรณีมีแนวความคิดที่ยึดหลักการเดียวกันแล้วย่อมทำให้วิธีการต่างๆ ที่อาจไม่เหมือนกัน แต่สามารถบรรลุเป้าหมายร่วมกันได้เป็นที่ยอมรับกันมากขึ้น โดยผ่านการสื่อสารสร้างความสัมพันธ์ การมีทัศนคติเชิงบวกต่อผู้อื่น และมองเป้าหมายแทนปัญหา ความขัดแย้งก็จะลดน้อยหรือหมดไปในที่สุด

องค์กรที่ให้ความสำคัญที่แนวความคิดที่แตกต่างเป็นการพัฒนาวิธีการใหม่ๆ โดยการให้คำปรึกษาและวางกลยุทธ์ในการบริหารความคิดที่แตกต่าง (ความขัดแย้ง) ให้กับทีมงานอย่างทั่วถึงแล้ว ก็จะเกิดเป็นทีมเวิร์กที่มีความคิดหลากหลาย และเป็นทีมที่เข้มแข็งเพราะคนที่มีความสามารถที่หลากหลายสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น องค์กรนั้นย่อมประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ต้องการ

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อสร้างแนวความคิดในการบริหารจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นกับตัวเอง ผู้อื่น ทีมงาน และองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
  2. เพื่อทำให้ผู้เข้าอบรมมองเห็นสาเหตุของความขัดแย้ง และเทคนิคการเอาชนะหลุมพรางทางความคิดได้ด้วยตัวเอง
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถสร้างกลยุทธ์และให้คำปรึกษากับพนักงานทั่วไปในการบริหารความขัดแย้งได้ด้วยตัวเอง

 

เนื้อหา

1.     เรียนรู้และเข้าใจสาเหตุของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น

-          ประเด็นสำคัญที่เกิดความขัดแย้ง

-          วิเคราะห์สาเหตุของความขัดแย้ง

-          ธรรมชาติของความขัดแย้ง

-          แนวความคิดเชิงลบเมื่อเกิดความขัดแย้ง

-          Workshop: ค้นหาสาเหตุความขัดแย้งที่เกิดขึ้น

2.     การบริหารความขัดแย้งอย่างมีประสิทธิผล

-        หลุมพรางทางความคิดเกี่ยวกับความขัดแย้ง

-        หลักการบริหารความขัดแย้ง

-        เทคนิควิธีการเอาชนะหลุมพราง

-        กระบวนการแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์

-        Workshop: หลักการบริหารความขัดแย้งของตัวเอง

3.     ทักษะสำคัญในการลดความขัดแย้งกับผู้อื่น

-          สร้างทัศนคติเชิงบวกกับผู้อื่น (จับถูก)

-          การยอมรับในความคิดเห็นที่แตกต่าง (ค่านิยม)

-          การสื่อสร้างสัมพันธ์ที่ดี (มนุษยสัมพันธ์)

-          การให้ความสำคัญกับเป้าหมายมากกว่าปัญหา (คิดเชิงกลยุทธ์)

-          การจูงใจให้ผู้อื่นคล้อยตามแนวความคิด (ภาวะผู้นำ)

-          Workshop: ทักษะที่คุณจะนำไปพัฒนาเพิ่มเติม

4.     กรณีศึกษา: ค้นหาสาเหตุความขัดแย้งที่เกิดขึ้น

-          การประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ต่างๆ

-          การหลีกเลี่ยงข้อขัดแย้งล่วงหน้า

-          การให้คำปรึกษาแนวทางบริหารความขัดแย้ง

-          การสร้างกลยุทธ์บริหารจัดการความขัดแย้งของหน่วยงาน

-          การพัฒนาแนวความคิดเรื่องการบริหารความขัดแย้งให้ทีมงาน

 

รูปแบบการฝึกอบรม

(ทฤษฏี 30% เชิงปฏิบัติการ 70%)

  • การบรรยาย-สาธิต
  • ระดมสมอง – เกมประกอบหลักสูตร - กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
  • การแสดงบทบาทสมมติ

 

วิธีการประเมินผล

  1.  จากแบบสอบถามและการสังเกต 
  2.  จากการสุ่มตัวอย่างทดสอบและทบทวนกลับ 

 

 

เหมาะสำหรับ

หัวหน้างาน และพนักงานที่เกี่ยวข้อง

 

วิทยากร

วิทยากรผู้เชี่ยวชาญ


13 มีนาคม 2563

ผู้ชม 1558 ครั้ง

Engine by shopup.com