ดูหน้า

General & Advanced Soft Skills - จิตวิทยาการบริหารความขัดแย้ง

จิตวิทยาการบริหารความขัดแย้ง

(Psychology Conflict Management)

ดาวน์โหลดไฟล์ PDF

 

หลักการและเหตุผล

ในการทำงานองค์กร ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากปัจจัยหลายประการ อาทิ การรับรู้ที่แตกต่างกับของบุคคล อันเนื่องมาจากประสบการณ์ที่ต่างกัน ความจำกัดของทรัพยากร เป็นต้น ความขัดแย้งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ซึ่งการบริหารงานแบบเดิม เชื่อว่า หากเกิดความขัดแย้งขึ้นมา ถือเป็นสัญญาณอันตรายที่จะส่งผลร้ายต่อองค์กรและการบริหาร 

อย่างไรก็ตาม ในทางจิตวิทยาถือว่า หากสามารถนำความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมาบริหารจัดการใหม่ และสามารถรับมือกับความขัดแย้งได้ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ย่อมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทิศทางใหม่ที่ดีกว่าปล่อยให้ความขัดแย้งนั้นดำรงต่อ จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่หัวหน้างานควรเรียนรู้วิธีการบริหารความขัดแย้งให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และมีทักษะ เทคนิคต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้อย่างสร้างสรรค์ หรือทำให้เกิดการหาผลลัพธ์ที่ดีกว่า เพื่อให้องค์กรสามารถเดินหน้าในการทำงานและการดำเนินงานต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

วัตถุประสงค์

  • ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในองค์กร
  • ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงประโยชน์และโทษของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในองค์กร
  • ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ เพื่อการจัดการกับความขัดแย้งให้เกิดเป็นภาวะที่สร้างสรรค์ต่อไป

 

เนื้อหา

แนวคิดและหลักการที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง
รูปแบบความขัดแย้งแบบต่างๆ
ขั้นตอนการจัดการความขัดแย้ง
วิธีการทางจิตวิทยาเพื่อบริหารความขัดแย้งและรับมือกับความขัดแย้งต่างๆ
ทักษะที่จำเป็นในการไกล่เกลี่ย และการเจรจาต่อรอง
กรณีศึกษา และฝึกปฏิบัติ การจัดการกับความขัดแย้ง
ถาม-ตอบ เพื่อการประยุกต์ใช้

 

วิธีการฝึกอบรม

บรรยาย และ Workshop กรณีศึกษา ฝึกปฏิบัติ

 

วิทยากร
วิทยากรผู้เชี่ยวชาญ

เหมาะสำหรับ
ผู้จัดการ (Manager) หัวหน้างาน (Supervisor) ผู้นำทีม (Team Leader) พนักงานอาวุโส (Senior Officers)

 


13 มีนาคม 2563

ผู้ชม 1753 ครั้ง

Engine by shopup.com