ดูหน้า

Safety & Health Management - BBS การปลูกฝังพฤติกรรมความปลอดภัย

BBS การปลูกฝังพฤติกรรมความปลอดภัย

ดาวน์โหลดไฟล์ PDF

 

จุดเริ่มต้น ของอุบัติเหตุในการทำงาน  HUMAN ERROR !!! จะต้องแก้ไขอย่างไร? โดยเฉพาะพฤติกรรมการทำงานที่เสี่ยงไม่ปลอดภัยของพนักงาน เช่น รีบร้อน เคยชิน อ่อนเพลีย อารมณ์เสีย ตามองไม่เห็น ใจไม่จดจ่อ เสียการทรงตัว อันเป็นเหตุ ของการผิดพลาด และเกิดการสูญเสียในการทำงานทั้งสิ้น สร้างจุดแข็งของทีมงาน จุดแข็งของสายการผลิต จุดแข็งขององค์กร คือการปฏิบัติงานโดยปราศจากอุบัติเหตุ!! เพราะองค์กรใด? ที่ปลอดภัยจากอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงาน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางการแข่งขันเหนือกว่าคู่แข่ง !!

อุบัติเหตุต่างๆ การเสียชีวิต ทุพพลภาพ นั้น ท่านรู้หรือไม่? ว่า นอกจากสร้างความเสียหายให้กับตัวพนักงาน

และองค์กร แล้วยังบั่นทอนความรู้สึก จิตใจ สุขภาพของคนงาน ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง เพราะฉะนั้นควรป้องกันตั้งแต่ต้นเหตุ!!

คุณรู้หรือไม่ว่ามีอันตรายอะไร? ซ่อนเร้นอยู่ในการปฏิบัติงานบ้าง?

พูดให้เขาได้คิดดีกว่า สั่งให้เขาทำ

การให้พนักงานได้คิดเอง ย่อมดีกว่าที่เราไปบอกทั้งหมด

รู้จักฟัง อธิบาย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่ยอมรับได้ของทั้งสองฝ่าย

สร้างจิตสำนึก สร้างพฤติกรรมในด้านความปลอดภัยร่วมกันกับพนักงานภายในองค์กรได้อย่างไร?

ฝ่ายจัดซื้อนับเป็นฝ่ายที่ใช้จ่ายเงินมากที่สุดในองค์กร ดังนั้นการเจรจาต่อรองจึงมีความสำคัญที่ทำให้การจัดซื้อจัดหามีต้นทุนต่ำที่สุดและได้รับสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน จึงเป็นหน้าที่ของนักจัดซื้อที่ต้องใช้ทักษะในการเจรจาต่อรองอย่างชาญฉลาด  ซึ่งจะช่วยให้องค์กรมีกำไรเพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องเพิ่มยอดขาย ดังนั้นการเจรจาต่อรองมิใช่แค่การต่อราคาแบบสุดๆ หรือให้ได้ของดีที่สุดแต่เพียงอย่างเดียว การเจรจาต่อรองต้องเข้าใจในหลักการ มีทักษะ มีเหตุผลการเจรจาต่อรอง จึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด สถาบันจึงได้จัดสัมมนาขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการก้าวสู้นักเจรจาต่อรองในงานจัดซื้ออย่างมืออาชีพ

 

หลักการและเหตุผล

การปลูกฝังพฤติกรรมความปลอดภัย, Behavior-based safety (BBS) เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่เป็นที่ยอมรับ

อย่างกว้างขวางว่าสามารถลดการเกิดอุบัติเหตุ การได้รับบาดเจ็บได้จริง และช่วยส่งผลต่อการสร้างวัฒนธรรม

ความปลอดภัยในองค์กร เมื่อพนักงานทุกคนเข้าใจหลักการและนําไป BBS ไปปฏิบัติอย่างจริงจัง

BBS อาศัยหลักการทางจิตวิทยา และวิทยาศาสตร์ในการส่งเสริมพฤติกรรมที่นําไปสู่ความปลอดภัย แต่

น่าเสียดายที่หลายองค์กรไม่ได้นํามาใช้อย่างต่อเนื่อง และไมได้เพิ่มพูนประสิทธิภาพให้มัน หรือไม่ได้ทําให้มัน

ยั่งยืน หรือได้ยินมาว่า BBS ไม่เหมาะกับพฤติกรรมของคนในประเทศของเรา ซึงถ้าเรามีความเชื่อเช่นนี้ แล้วเราก็

ไม่มีทางที่จะทําให้มันประสบความสําเร็จได้เลย ดังนั้นการทําให้ BBS ประสบความสําเร็จผู้ที่รับผิดชอบจำเป็น

ต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้เสียก่อน และต้องเชือว่าทําได้ และพยายามทําอย่างต่อเนื่องไม่รู้จักเหน็ดจักเหนื่อย

ความไม่ย่อท้อย่อมนํามาสู่ความสําเร็จในลดอุบัติเหตุในองค์กร

ดังนั้นหลักสูตรนี้จึงออกแบบมาเพื่อให้เกิดความเข้าใจเรื่อง BBS อย่างถ่องแท้ รวมถึงเหตุและผล

กระบวนการนําไปใช้ และการแก้ปัญหา พร้อมการฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเข้าใจว่า BBS ไม่ใช่เพียงแค่การทํา

การสังเกต (observation) เท่านั้น

 

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้ทราบถึงหลักการของ BBS ความสําคัญ และการนําไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เพื่อให้ทราบเทคนิคในการสื่อสาร การจูงใจ ให้เกิดพฤติกรรมความปลอดภัย
  • เพื่อให้ทราบเทคนิคการสังเกตอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันการเกิดพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยซ้า
  • เพื่อสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย ที/เกิดจากทัศนคติความปลอดภัย และจิตสํานึกที่ดีของสมาชิกใน
  • องค์กร อันเป็นหัวใจหลักของการวางรากฐานของพฤติกรรมความปลอดภัย

 

 เนื้อหา

  • หลักในการทำให้อุบัติเหตุเป็น ศูนย์ ZERO ACCIDENT
  • องค์กรทุกๆองค์กร คาดหวังอะไรจากการทำงานของพนักงาน
  • 5 W 1 H
  • แนวคิดเดิมความปลอดภัยให้ความสำคัญกว่าส่วนอื่นๆ ....
  • พูดให้คิดก่อน ดีกว่าบอกให้เขาทำ....
  • ความแตกต่างและความหมายของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน

        -  INCIDENT อุบัติการณ์

        -  ACCIDENT อุบัติเหตุ

        -  NEAR MISS เหตุการณ์ที่เกือบจะเกิดอุบัติเหตุ

  • ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเกิดอุบัติเหตุ
  • ความสูญเสียทางตรง
  • คามสูญเสียทางออ้อม
  • BBS คือ อะไร, ทําไมต้อง BBS, พฤติกรรมทีไม่ปลอดภัยเกิดขึ้นได้อย่างไร
  • การสร้างพฤติกรรมความปลอดภัย (O.A.C.H process )
  • เทคนิคการสื่อสาร และจูงใจ (Communication and motivation)
  • จิตสำนึกความปลอดภัยในการทำงาน ( Behavior Based Safety : BBS )
  • แนวคิดเดิมความปลอดภัยให้ความสำคัญกว่าส่วนอื่นๆ
  • พูดให้คิดก่อน ดีกว่าบอกให้เขาทำ
  • ABC Model เพื่อการวิเคราะห์พฤติกรรม ตามแนวทาง BBS
  • เทคนิคการสังเกต (BBSO Process) และควบคุมพฤติกรรมไม่ปลอดภัย และการแก้ปัญหา
  • การริเริ่ม (BBS initiative) และนํา BBS ไปใช้และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
  • ตัวอย่างโรงงานที่ทำ โครงการ BBS ที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว มาให้ดูและศึกษากันก่อนทำจริง
  • Work Shop : กิจกรรมย่อยนำพฤติกรรมเสี่ยงอันตรายในบริษัทของท่านมาทำกัน แบ่งกลุ่มตามแผนกหรือลักษณะงาน ค้นหาพฤติกรรมเสี่ยง คัดเลือกพฤติกรรม กำหนดเป้าหมาย กระบวนการสังเกตพฤติกรรม การสื่อสาร  ให้คำแนะนำ  วัดผลการดำเนินการ   กระบวนการสังเกตพฤติกรรม  สื่อสาร ให้คำแนะนำ จนครบระยะเป้าหมาย  วัดผล สรุปผลการดำเนินงานโครงการ BBS

 

รูปแบบการฝึกอบรม

บรรยาย และ Workshop กรณีศึกษา ฝึกปฏิบัติ

 

 สิ่งที่ผู้เข้าอบรมจะได้รับ

  • เพื่อให้เข้าใจแนวคิดของการสร้างพฤติกรรมความปลอดภัย
  • เพื่อให้เห็นความสำคัญของสื่อสาร เพื่อนช่วยเพื่อน
  • เพื่อให้เพื่อสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย ที่เกิดจากทัศนคติความปลอดภัย และจิตสำนึกที่ดีของพนักงานทุกคนในองค์กร

 

ระยะเวลา

1 วัน


16 มีนาคม 2563

ผู้ชม 1941 ครั้ง

Engine by shopup.com