ดูหน้า

Safety & Health Management - KYT การฝึกการหยั่งรู้ถึงอันตราย ลดการสูญเสียทำอุบัติเหตุให้เป็น “ศูนย์ ”

KYT การฝึกการหยั่งรู้ถึงอันตราย ลดการสูญเสียทำอุบัติเหตุให้เป็น ศูนย์ ” 

ดาวน์โหลดไฟล์ PDF

 

หลักการและเหตุผล

การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น ต้องคอยแก้ไขอยู่เสมอ แต่ที่ดีที่สุดนั้นคือ การป้องกันหรือหลีกเลี่ยงมิให้เกิดขึ้น และหากความเสี่ยงอุบัติเหตุนั้นไปถึงผู้ปฏิบัติงานย่อมเกิดความเสียหายใหญ่โต พฤติกรรมการทำงานที่เสี่ยง และไม่ปลอดภัยของพนักงาน เช่น เผอเรอ เหม่อลอย ซุ่มซ่าม ลัดขั้นตอน รีบเร่ง อันเป็นต้นเหตุของการผิดพลาด และเกิดการสูญเสียในการทำงานทั้งสิ้น การสร้างจุดแข็งของทีมงาน จุดแข็งขององค์กร  คือการปฏิบัติงานโดยปราศจากอุบัติเหตุ  เพราะองค์กรใดที่ปลอดภัยจากอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงาน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางการแข่งขันเหนือกว่าคู่แข่ง

อุบัติเหตุต่างๆ การเสียชีวิต ทุพพลภาพนั้น นอกจากสร้างความเสียหายให้กับตัวพนักงาน และองค์กรแล้ว ยังบั่นทอนความรู้สึก จิตใจ สุขภาพของคนงาน ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง เพราะฉะนั้น ควรป้องกันตั้งแต่ต้นเหตุ ดังนั้นหากสามารถหยั่งรู้ระวังภัยล่วงหน้าหน้าได้ จึงเป็นอีกทางออกหนึ่งที่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานปลอดภัยจากการเกิดอุบัติเหตุได้ดีที่สุด

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้พนักงานได้เข้าใจถึงสาเหตุ และการป้องกันแก้ไขอุบัติเหตุในการสถานประกอบการ โดยการระดมสมอง
  2. เพื่อให้พนักงานได้ตระหนักถึงอันตรายและมีจิตสำนึกทางด้านความปลอดภัยในการทำงาน โดยการหมั่นเตือนตัวเอง
  3. เพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศให้ทุกคนมีส่วนในการป้องกันอุบัติเหตุ

 

 เนื้อหา

  1. ทำความเข้าใจและความหมายของการลดอุบัติเหตุให้เป็นศูนย์ ด้วย KYT การหยั่งรู้ระวังอันตราย
  • ความหมายของ KYT (K – Kiken, Y – Yochi, T - Training)
  • ความหมายของการทำงานด้วยใจ
  • การสร้างจิตสำนึกความปลอดภัยในการทำงานเพื่อลดอุบัติเหตุ

      2. ความแตกต่างและความหมายของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน

  • INCIDENT เหตุการณ์
  • ACCIDENT อุบัติเหตุ
  • NEAR- MISS เหตุการณ์ที่เกือบจะเกิดอุบัติเหตุ

      3. วัตถุประสงค์ของการหยั่งรู้ระวังอันตราย KYT

      4. ขั้นตอนและวิธีการ ค้นหาอันตราย  วิเคราะห์ ว่ามีกิจกรรมใดบ้าง? และจะต้องปฏิบัติอย่างไร?

มือชี้ ปากย้ำเตือนสติ ก่อนปฏิบัติงาน

  • การระดมสมอง ค้นหาจุดอันตราย ที่ซ่อนเร้น พร้อมสาเหตุ
  • เลือกจุดอันตรายที่สำคัญที่สุด
  • หามาตรการป้องกันแก้ไข
  • ตั้งสโลแกน โดยเลือกมาตรการป้องกันที่ดี ทำและจำได้ง่าย ตะโกนเตือนตนก่อนทำงาน

       5. การสร้างจิตสำนึกความปลอดภัยในการทำงาน (Behavior Based Safety : BBS)

  • การสร้างจิตสำนึกการระวังอันตราย อุบัติภัย ร่วมกัน

       6. ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเกิดอุบัติเหตุ

  • ความสูญเสียทางตรง
  • ความสูญเสียทางอ้อม

       7. ประเภทของ KYT ที่นิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน

  • KYT 4 ยก (4 Rounds KYT)
  • KYT จุดเดียว (One Point KYT)
  • KYT ปากเปล่า (Oral KYT)

 

 การประเมินผล

  • การทดสอบความรู้ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม (Pre test – Post test)
  • มีระบบการประเมินผลในการฝึกอบรม และนำมาวิเคราะห์เพื่อชี้วัดความสำเร็จ

 

รูปแบบการฝึกอบรม

การฝึกอบรมมีความหลากหลายเพื่อให้เกิดความเข้าใจได้โดยง่าย โดยมีความลึกซึ้งเพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจ ยอมรับ และนำไปปฏิบัติตาม อีกทั้งตรงตามเป้าหมายที่ทางองค์กรได้กำหนดไว้

  1. การบรรยายแบบผู้อบรมมีส่วนร่วม
  2. กิจกรรมกลุ่ม Workshop   รูปที่แสดงจุดเสี่ยงอันตราย ที่อันตรายที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เกิดขึ้นอีก หรือจุดเสี่ยงอันตราย นำเสนอหน้าห้อง และปฏิบัติจริง
  3. แสดงการสาธิตจำลองให้เกิดการพัฒนา ให้พนักงานมีส่วนร่วม ทำง่าย เห็นผล ลดอุบัติเหตุได้จริง  จากสถิตระบุ ลดลง 1 ใน 3 จากการสร้างจิตสำนึก รู้ถึงอันตรายล่วงหน้า

 

 ระยะเวลา

1 วัน


16 มีนาคม 2563

ผู้ชม 2292 ครั้ง

Engine by shopup.com