ดูหน้า

Safety & Health Management - วิธีปฏิบัติ การปฐมพยาบาล และการช่วยชีวิตผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้า

วิธีปฏิบัติ การปฐมพยาบาล และการช่วยชีวิตผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้า

ดาวน์โหลดไฟล์ PDF

 

หลักการและเหตุผล

การฝึกอบรมให้พนักงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับไฟฟ้า มีความรู้สามารถปฏิบัติตนเมื่อประสบอันตรายจากไฟฟ้า และสามารถปฐมพยาบาล และช่วยชีวิตโดยใช้วิธีปากเป่าอากาศเข้าทางปากหรือจมูกของผู้ประสบอันตราย และวิธีการนวดหัวใจจากภายนอก กรณีเกิดเหตุเมื่อมีพนักงานประสบอันตรายจากไฟฟ้า เพื่อนหรือผู้ร่วมงานซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ที่สุดเข้าถึงเหตุการณ์ได้เร็วที่สุดจะสามารถช่วยชีวิตกันและกันได้ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย และผู้รับผิดชอบงานทุกท่านต้องให้ความสำคัญ

สถาบันจึงได้กำหนดหลักสูตรการอบรมและฝึกปฏิบัติการนี้ขึ้น เพื่อให้สถานประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมสามารถจัดส่งผู้ปฏิบัติงาน ผู้ควบคุมการทำงานที่เกี่ยวกับไฟฟ้าเข้ารับการอบรมในหลักสูตรนี้ รวมทั้งผู้ที่ต้องการกำหนดหัวข้อและรายละเอียดหลักสูตรการอบรมนี้ไว้ให้เป็นแนวทางสำหรับสถานประกอบการหรือโรงงานอุตสาหกรรมนำไปปรับใช้และจัดให้มีการอบรมในสถานประกอบการหรือโรงงานอุตสาหกรรมของตนต่อไป

 

 เนื้อหา

  • คำจำกัดความของการประสบอันตรายจากไฟฟ้า
  • ประเภทและลักษณะของการประสบอันตรายจากไฟฟ้า ที่เกิดกับบุคคลลักษณะของอันตรายจากไฟฟ้าที่เกิดกับบุคคลในรูปแบบต่าง ๆ
  • ไฟฟ้าดูดและองค์ประกอบของไฟฟ้าดูด
  • ผลของกระแสไฟฟ้าที่มีต่อร่างกายมนุษย์
  • ลักษณะของการสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้า หลักการป้องกันอันตรายทั้งกรณีสัมผัสโดยตรง และสัมผัสโดยอ้อม
  • อาร์กจากไฟฟ้า และสาเหตุการเกิดอาร์กจากไฟฟ้า
  • อันตรายที่เกิดขึ้นจากการเกิดอาร์กจากไฟฟ้า การเกิดการแผ่รังสีความร้อน และแสงจ้าไปในบริเวณใกล้เคียงการเกิดหยดโลหะหลอมเหลวที่มีแรงผลักกระเด็นไปไกล การเกิดแผลไหม้จากอาร์กในแต่ละระดับความรุนแรง
  • การระเบิดจากอาร์ก สาเหตุที่ทำให้เกิดการระเบิดจากอาร์ก และสาเหตุที่ทำให้ผู้ประสบอันตรายเสียชีวิต เมื่อเกิดระเบิดจากอาร์ก
  • สาเหตุของการบาดเจ็บจากไฟฟ้า
  • สาเหตุการเสียชีวิตจากไฟฟ้า
  • หลักการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า
  • ความหมายของการปฐมพยาบาล และวัตถุประสงค์ของการปฐมพยาบาล
  • หลักปฏิบัติทั่วไปของการปฐมพยาบาล
  • วิธีปฏิบัติเมื่อพบการประสบอันตรายจากไฟฟ้า
  • วิธีการปฐมพยาบาล และช่วยชีวิตโดยใช้ปากเป่าอากาศเข้าทางปากหรือจมูกของผู้ประสบอันตรายและวิธีการนวดหัวใจจากภายนอก
  • การช่วยเหลือผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้าในงานที่ทำบนที่สูง
  • บาดแผลและการห้ามเลือด กรณีผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้าเกิดบาดแผลหรือเกิดการเสียเลือด
  • การช่วยเหลือกรณีกระดูกหัก และการเข้าเฝือกสำหรับผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้า
  • ระดับของแผลไหม้จากการประสบอันตรายจากไฟฟ้า และการปฐมพยาบาลแผลไหม้ในระดับต่าง ๆ
  • การปฐมพยาบาลกรณีผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้าเป็นลม เนื่องจากความร้อนหรือเกิดภาวะช็อก
  • ท่านอนที่ปลอดภัย การจัดวางผู้ป่วยให้อยู่ในท่านอนที่ปลอดภัยสำหรับคนหมดสติ

 

รูปแบบการฝึกอบรม

บรรยาย และ Workshop กรณีศึกษา ฝึกปฏิบัติ

 

 เหมาะสำหรับ

ผู้ควบคุมงาน ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย และผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน

 

 วิทยากร

วิทยากรผู้เชี่ยวชาญ


16 มีนาคม 2563

ผู้ชม 964 ครั้ง

Engine by shopup.com