ดูหน้า

Productivity & Business Development - การออกแบบการทดลอง DOE

การออกแบบการทดลอง

Design of Experiments: DOE

ดาวน์โหลดไฟล์ PDF

 

หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาด้านคุณภาพของแต่ละโรงงานมีผลกระทบอย่างมากต่อต้นทุนการผลิต และการส่งมอบ ดังนั้นผู้บริหารองค์กรหลายแห่งมีความตระหนักที่จะนำเครื่องมือเพื่อจะช่วยแก้ปัญหาด้านคุณภาพ ในอดีตมีต้นทุนที่เกิดจากการทำ Trial and Error เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ และแก้ปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาที่มีปัจจัย (Factor) ที่จะต้องใช้หลายองค์ประกอบในการพิจารณาเพื่อแก้ปัญหายิ่งจะต้องใช้ทั้งต้นทุ และเวลามหาศาลในการดำเนินการ ซึ่งการออกแบบการทดลอง หรือ DOE (Design of Experiments) เป็นเทคนิคหนึ่งที่มีส่วนช่วยในการเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลของปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อกระบวนการผลิต ด้วยต้นทุนต่ำ และเวลาในการดำเนินการน้อย เพื่อช่วยในการแก้ปัญหาที่สาเหตุรากเหง้าได้อย่างถูกต้อง และแม่นยำ

 

 วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจถึงแนวคิดในการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาด้วยวิธีการทางสถิติ
  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจ แนวทางในการออกแบบการทดลองเพื่อการปรับปรุงคุณภาพ
  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจหลักการ และการตีความผลการทดลอง
  • เพื่อให้ผู้ที่เข้าอบรมสามารถนำเทคนิค DOE ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้อง

 

 เนื้อหา

  • การจัดทำมาตรฐานในงานควบคุมคุณภาพ
  • แนวความคิดการวิเคราะห์สาเหตุโดยกลวิธีทางสถิติ
  • การกำหนดสมมุติฐานเชิงสถิติ
  • แนวความคิดการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมุติฐาน
  • เทคนิค ANOVA และการวิเคราะห์ความเหมาะสม ของข้อมูล
  • แนวทางการออกแบบการทดลอง เพื่อการปรับปรุงคุณภาพ
  • หลักการออกแบบ Orthogonal Array ของทากูชิ
  • หลักการใช้ Linear Graph ของทากูชิ
  • การออกแบบการทดลองหลายขั้นตอน (Multiple-Level Experiments)
  • การออกแบบการทดลองลักษณะพิเศษ (Special Design)
  • การตีความผลการทดลอง (Interpretation of Experimental Results)
  • การออกแบบ Tolerance และค่าพารามิเตอร์ของผลิตภัณฑ์ (Parameter and Tolerance Design)
  • กรณีศึกษาการออกแบบการทดลอง ตามหลักการทากูชิ

 

 การประเมินผล

  • การทดสอบความรู้ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม (Pre test - Post test)
  • มีระบบการประเมินผลในการฝึกอบรม และนำมาวิเคราะห์เพื่อชี้วัดความสำเร็จ

 

รูปแบบการฝึกอบรม

  • การบรรยายแบบมีส่วนร่วม (Participative Techniques)
  • การระดมความคิดเห็น (Brainstorming)
  • เรียนรู้จากสื่อมัลติมีเดีย
  • Workshop

 

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม

ผู้จัดการ หัวหน้างาน วิศวกร และผู้ที่เกี่ยวข้อง

 

 ระยะเวลา

1 วัน


16 มีนาคม 2563

ผู้ชม 2506 ครั้ง

Engine by shopup.com