ดูหน้า

Productivity & Business Development - Core Tools Implementation Techniques

Core Tools Implementation Techniques

(APQP & Control Plan, PPAP, FMEA, SPC & Process Capability, MSA)

ดาวน์โหลดไฟล์ PDF

 

หลักการและเหตุผล

หลักสูตรนี้สามารถลดความสับสนแก่ผู้ปฏิบัติในการเลือกใช้ Tools และเกณฑ์การประเมิน (Criteria) ต่างๆ ให้เหมาะกับลักษณะของผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตขององค์กร โดยการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ผ่าน “Core Tools Process Map” ตั้งแต่ช่วงการเตรียมผลิตภัณฑ์ใหม่ (New Model), ช่วงอนุมัติการผลิต (Part Approved), ช่วงผลิตจริง (Mass Production) และกรณีมีการเปลี่ยนแปลงทางวิศวกรรม (Product Change / Process Change)

แนวทางการฝึกอบรมเน้นความเข้าใจด้านทฤษฎี เทคนิคการตีความและประเมินผล สลับกับกิจกรรมกลุ่มเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ครบทั้ง 5 Tools โดยอ้างอิง New Model ขององค์กร ซึ่งจะช่วยให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจได้ถูกต้องยิ่งขึ้น และนำไปใช้จริงในการปฏิบัติงานได้

 

 วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจ ในเครื่องมือปรับปรุงคุณภาพและผลผลิต ได้แก่ APQP & Control Plan, PPAP, FMEA, SPC & Process Capability, MSA เพื่อนำไปสู่การใช้งานจริง ให้เกิดประสิทธิผลมากขึ้นและสามารถประยุกต์ Core Tools เพื่อปรับปรุงคุณภาพเพิ่มผลผลิต
  • เพื่อให้ Cross Function Team และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความรู้ และสามารถนำไปปฏิบัติในกระบวนการทำงานจริงได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งนำผลที่ได้ไปปรับปรุงคุณภาพของกระบวนการและผลิตภัณฑ์ได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิผล

 

 เนื้อหา

 

  • APQP and Control Plan

   วัตถุประสงค์การประยุกต์ใช้ APQP กับข้อกำหนด ISO/TS 16949:2009

   เป้าหมายการออกแบบกระบวนการผลิต

   ปัจจัยข้อมูลนำเข้าและผลลัพธ์ที่ได้

   การประเมินความเป็นไปได้และวิเคราะห์ความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ใหม่ (Feasibility Review & Risk Analysis)

   แนวทางการจัดตั้งทีมงานข้ามแผนก (Cross Function Team) และรูปแบบ APQP Project Plan

   ลำดับขั้นตอนของกระบวนการ APQP Phase1 - Phase5

  • PPAP

   วัตถุประสงค์การประยุกต์ใช้ PPAP กับข้อกำหนด ISO/TS 16949:2009

   ขอบข่ายและภาวะที่ต้องแจ้งลูกค้าในการขออนุมัติ PPAP

   รายละเอียดข้อกำหนดที่ต้องยื่นอนุมัติ

   การจัดเตรียมเอกสารเพื่อขอการอนุมัติชิ้นส่วนเพื่อการผลิต

   ลำดับขั้นตอนเอกสารที่จำเป็นและเงื่อนไขข้อจำกัดที่จำเป็นต้องมี

   ข้อจำกัดสถานการณ์ที่ต้องยื่นหรือต้องแจ้งเพื่อรับทราบ

   ระดับของผู้ส่งมอบ (Supplier Level) และเงื่อนไขการอนุมัติ PPAP

  • FMEA

   วัตถุประสงค์และการประยุกต์ใช้ FMEA กับข้อกำหนด ISO/TS 16949:2009

   เทคนิคและแนวทางการจัดทำ Process FMEA

   การกำหนดลำดับความสำคัญก่อน-หลังในการดำเนินการแก้ไข

   การปรับปรุงกระบวนการผลิต

   อธิบายการใช้ตารางความรุนแรง (Severity) โอกาสเกิด (Occurence) และการตรวจจับ (Detection)

   วิธีประเมินความเสี่ยง และหลักเกณฑ์การตั้งค่า RPN ให้เหมาะกับองค์กร

  • SPC and Process Capability

   วัตถุประสงค์และการประยุกต์ใช้ SPC กับข้อกำหนด ISO/TS 16949:2009

   ความเข้าใจการใช้สถิติเพื่อควบคุมกระบวนการผลิต

   แผนภูมิควบคุมแบบ Varaible, Attribute และอื่นๆ

   การปรับปรุงกระบวนการผ่าน Cp, CpK หรือ Pp, PpK

   การอ่านและตีความหมายแผนภูมิควบคุม

  • MSA

   วัตถุประสงค์และการประยุกต์ใช้ MSA กับข้อกำหนด ISO/TS 16949:2009

   การวิเคราะห์ความเที่ยงตรงของระบบการวัด (Accuracy)

   Bias, Stability, Linearity

  • การทบทวน Core Tools กรณีมีการเปลี่ยนแปลงทางวิศวกรรม

   การตีความข้อกำหนด

 แนวทางการทบทวน Core Tools แต่ละตัวเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น

 

 การประเมินผล

  • การทดสอบความรู้ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม (Pre test – Post test)
  • มีระบบการประเมินผลในการฝึกอบรม และนำมาวิเคราะห์เพื่อชี้วัดความสำเร็จ

 

รูปแบบการฝึกอบรม

บรรยาย และกิจกรรมกลุ่มเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหา สามารถนำไปปรับใช้งานจริงได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิผล

 

 ระยะเวลา

3 วัน


11 มีนาคม 2563

ผู้ชม 1258 ครั้ง

Engine by shopup.com