ดูหน้า

Productivity & Business Development - Failure Mode and Effects Analysis

Failure Mode and Effects Analysis

(FMEA 4th Edition)

ดาวน์โหลดไฟล์ PDF

 

หลักการและเหตุผล

กระบวนการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบ เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญในการป้องกันปัญหาความล้มเหลวในส่วนของขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ และการออกแบบควบคุมกระบวนการสำหรับผลิตภัณฑ์

เนื้อหาในหลักสูตรของ FMEA จะช่วยให้องค์กรมีความรู้พื้นฐานที่สำคัญ ในการเตรียมการเพื่อวิเคราะห์ความบกพร่องและผลกระทบอย่างเป็นขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบ ในขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ และการออกแบบควบคุมกระบวนการอย่างมีประสิทธิผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ส่งมอบชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมยานยนต์ ท่านจะได้เรียนรู้การใช้เครื่องมือพื้นฐาน และข้อมูลต่างๆในการในการทำการวิเคราะห์ความบกพร่อง และผลกระทบตามเจตนารมณ์ของมาตรฐาน ISO/TS 16949

 

 วัตถุประสงค์

  1. เข้าใจในรายละเอียด, หลักการและประโยชน์ของการทำ FMEA
  2. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจหลักการของการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบ ตามคำแนะนำของมาตรฐาน ISO/TS 16949:2002
  3. เพื่อให้มีทักษะในการวิเคราะห์ความบกพร่องและผลกระทบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์และการออกแบบเพื่อควบคุมกระบวนการ
  4. เพื่อให้มีความเข้าใจในขั้นตอนของการวิเคราะห์ความบกพร่องและผลกระทบตามคู่มือมาตรฐานฉบับใหม่
  5. ทราบหน้าที่และความรับผิดชอบของทีมงานในการจัดทำ Design and/or Process FMEA’s
  6. เข้าใจ Design-FMEA ว่าเป็นเครื่องมือหนึ่งในการลดความเสี่ยงในการออกแบบ
  7. สามารถจัดทำ Design-FMEA อย่างเหมาะสมในการทำให้มั่นใจว่าแบบงานสุดท้ายจะมีการจัดทำอย่างมีประสิทธิผล
  8. จัดทำ Design Verification and Validation Plans บนพื้นฐานข้อมูลที่ได้จาก Design-FMEA
  9. เข้าใจ Process –FMEA ว่าเป็นเครื่องมือหนึ่งในการลดข้อบกพร่อง
  10. สามารถจัดทำ Process –FMEA ที่ช่วยป้องกันไม่ให้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดส่งมอบสู่ลูกค้า
  11. สามารถจัดทำ Process Control plans บนพื้นฐานที่ได้จากProcess –FMEA
  12. เข้าใจว่า อะไร ทำไม ใคร และวิธีการที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ FMEA ในสภาพแวดล้อม การทำงานเป็นทีม
  13. ทราบปัญหา ข้อควรระวัง และอุปสรรคในการจัดวางระบบ
  14. ทราบมุมมองการตรวจประเมินเพื่อการรับรอง
  15. สามารถซักถาม ข้อสงสัย กับทางผู้สอนที่ซึ่งเป็นผู้ตรวจประเมินระบบโดยตรง

 

 เนื้อหา

  • ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับ FMEA
  • วัตถุประสงค์ของ FMEA
  • ความหมายหมายของ FMEA
  • ประเภทของ FMEA
  • การประยุกต์ใช้ FMEA ตามมาตรฐานของระบบคุณภาพ ISO/TS16949:2009
  • เปรียบเทียบความแตกต่างของ FMEA ใน Version 3rd VS 4th
  • คำศัพท์/นิยาม/หลักการของ FMEA
  • ภาพรวมการวิเคราะห์แนวโน้มลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบของกระบวนการ
  • เทคนิคการลงบันทึกในเอกสาร FMEA ฉบับใหม่
  • แนวคิดและเทคนิคของ Design FMEA และวิธีการนำไปใช้กับขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์รวมถึงตัวอย่างคำแนะนำในการนำ Design FMEA ไปใช้ให้มีความสอดคล้องกับความต้องการในคู่มือฉบับใหม่
  • แนวคิดและเทคนิคของ Process FMEA และวิธีการนำไปใช้กับขันตอนการออกแบบกระบวนการผลิตภัณฑ์รวมถึงตัวอย่างคำแนะนำในการนำ Process FMEA ไปใช้ให้มีความสอดคล้อง กับความต้องการในคู่มือฉบับใหม่
  • เกณฑ์การประเมินและให้คะแนนของค่าความรุนแรง, โอกาสเกิด และการตรวจจับตามคู่มือ FMEA ฉบับใหม่
  • แนวทางในการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบ

 

รูปแบบการฝึกอบรม

บรรยาย และ Workshop กรณีศึกษา ฝึกปฏิบัติ

 

 เหมาะสำหรับ

องค์กรที่ได้ทำการประยุกต์ใช้ระบบ ISO/TS 16949:2009 พร้อมทั้งองค์กรที่ได้รับการรับรองระบบแล้วหรือระหว่างการจัดทำระบบ ISO/TS 16949:2009, ประธานบริษัท, กรรมการผู้จัดการ, เจ้าของกิจการ, นักอุตสาหกรรม, ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ, ผู้จัดการโรงงาน, ผู้จัดการฝ่ายการผลิต, ผู้จัดการฝ่ายซ่อมบำรุง, ผู้จัดการฝ่ายควบคุมคุณภาพ, ผู้จัดการฝ่ายวิจัยและพัฒนา, ผู้จัดการฝ่ายบุคคล และฝึกอบรมหัวหน้าวิศวกร, ผู้จัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ, วิศวกรระบบ, โปรแกรมเมอร์, วิศวกรโรงงาน, วิศวกรออกแบบ, วิศวกรฝ่ายผลิต, วิศวกรคุณภาพ, วิศวกรฝ่ายทดสอบ, หัวหน้าแผนก, ฝ่ายควบคุมคุณภาพ, ผู้แทนจำหน่าย/ผู้จัดจำหน่าย และผู้ที่สนใจในอุตสาหกรรมการผลิตทุกท่าน

 

 ระยะเวลา

1 วัน


11 มีนาคม 2563

ผู้ชม 579 ครั้ง

Engine by shopup.com