ดูหน้า

Productivity & Business Development - Lean and Continuous Improvement

Lean and Continuous Improvement

ดาวน์โหลดไฟล์ PDF

 

หลักการและเหตุผล

การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง ต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้น ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ตลาดมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในเรื่องความต้องการของลูกค้า และวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์สั้นลงส่งผลให้ธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อรองรับสภาพดังกล่าว สิ่งที่บริษัทจำเป็นต้องดำเนินการก็คือการปรับองค์กรโดยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ลดต้นทุนในการดำเนินงาน และสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้แก่ ความไม่แน่นอนของความต้องการสินค้าและบริการของลูกค้า ความไม่แน่นอนของกระบวนการผลิต และความไม่แน่นอนของเวลาในการจัดส่งชิ้นส่วนของผู้จัดส่ง ด้วยเหตุนี้การนำเอาระบบการผลิตแบบลีนซึ่งสามารถลดต้นทุนการผลิตรองรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ และลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นตลอดกระบวนการทำงานตั้งแต่การออกแบบ การจัดส่งวัตถุดิบชิ้นส่วนโดยผู้จัดส่ง การบริหารพัสดุคงคลัง การผลิต จนกระทั่งการจัดจำหน่ายสินค้า และบริการให้แก่ลูกค้ามาประยุกต์ใช้ด้วยการวิเคราะห์คุณค่าของกระบวนการจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง

การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เป็นเทคนิคแก้ไขปัญหาหรือเทคนิคสำหรับพัฒนาสิ่งต่างๆให้ดียิ่งขึ้น และเป็นการเรียนรู้ที่เป็นระบบอย่างยิ่งของบุคลากรในทุกระดับขององค์กร เพราะเชื่อมั่นว่าความสามารถในการแข่งขันและหัวใจของความสำเร็จต่างๆนั้นมีรากฐานมาจากบุคลากรที่มีความสามารถในการคิดปรับปรุงตลอดเวลา และนำสิ่งที่คิดไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม

 

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้บุคลากรในระดับต่างๆ เข้าใจถึงแนวคิด และหลักการของลีน
  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถวิเคราะห์ สรุปปัญหา กำหนดจุดปรับปรุง และวางแผนปรับปรุงเพื่อสร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง
  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายในการปรับปรุงได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนสามารถดำเนินการปรับปรุงกระบวนการตามแนวทางของลีน
  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและเทคนิคของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้และหลักการเทคนิคต่างๆที่ได้เรียนรู้ไปสู่การประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงงานของตนอย่างประสบผลสำเร็จ

 

 เนื้อหา

      1 . วิวัฒนาการและแนวคิดพื้นฐานของลีน

  • คิดอย่างลีน (Lean Thinking) รวมถึงหลัก 5 ประการของลีน
  1. คุณค่าและความสูญเปล่า
  • ความหมายและแนวทางการระบุคุณค่า (Values)
  • ความหมายและแนวทางการระบุความสูญเปล่า (Wastes)
  1. การสำรวจกระบวนการสร้างคุณค่าในปัจจุบันด้วย Current State VSM
  • ความหมายและวัตถุประสงค์ในการจัดทำแผนภาพกระแสคุณค่าแสดงสภาพปัจจุบัน

   (Current State Value Stream Mapping)

  • สัญลักษณ์ต่างๆ และแนวทางการจัดทาแผนภาพกระแสคุณค่า
  1. เครื่องมือและเทคนิคต่างๆ ของลีน
  • การพัฒนาบุคลากร เช่น การฝึกอบรมพนักงาน การพัฒนาความชำนาญในงาน
  • การจัดการสถานที่ทำงาน เช่น การจัดผังสถานที่ทำงาน กิจกรรม 5
  • การประกันคุณภาพด้วยหลักการ Built-in Quality เช่น Poka Yoke, Visual Control
  • การจัดการเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ เช่นหลักการ Quick Changeover, SM, OEE
  • การควบคุมการผลิต โดยใช้ Takt Time, Pull System, Load Leveling (Heijunka)
  1. การวางแผนพัฒนากระบวนการสร้างคุณค่าด้วย Future State VSM
  • หลักการวางแผนปรับปรุงกระบวนการสร้างคุณค่า
  • การสร้างระบบดึง (Pull System)
  1. การขับเคลื่อนกระแสคุณค่า
  • การออกแบบและใช้งานระบบคัมบัง (Kanban)
  1. การสร้างคุณค่าและกำจัดความสูญเปล่าอย่างต่อเนื่อง
  • นวัตกรรม (Kaikaku) และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Kaizen)
  1. ความสำคัญและความเกี่ยวข้องระหว่าง Continuous Improvement, Lean, Supply Chain ที่มีต่อองค์กร
  2. ความสำคัญของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
  3. หลักการ Continuous Improvement
  • แนวทางในการเพิ่มผลิตภาพ
  • ผลกระทบของวิธีการดำเนินงานที่มีต่อต้นทุน
  • งานที่เพิ่มคุณค่าและไม่เพิ่มคุณค่า
  • หลักการลดต้นทุนและปรับปรุงงาน
  1. บทบาทของผู้บริหารและพนักงานที่จำเป็นต่อการทำ Continuous Improvement
  • Continuous Improvement ควรทำที่หน่วยงานไหน และควรเริ่มที่หน่วยงานไหนในองค์กร
  • ควรเริ่มเมื่อใด สภาพองค์กรเช่นใด
  1. ขั้นตอนและวิธีการในการจัดตั้งและดำเนินกิจกรรม Continuous Improvement เป็นอย่างไร

    13. เครื่องมือและเทคนิค Continuous Improvement

 

รูปแบบการฝึกอบรม

บรรยาย และ Workshop กรณีศึกษา ฝึกปฏิบัติ

 

 เหมาะสำหรับ

ผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้างาน วิศวกร พนักงานฝ่ายผลิต และผู้ที่เกี่ยวข้อง

 

 ระยะเวลา

1 วัน / 2 วัน


11 มีนาคม 2563

ผู้ชม 603 ครั้ง

Engine by shopup.com