ดูหน้า

Productivity & Business Development - เทคนิควิศวกรรมเพื่อการเพิ่มผลผลิต

เทคนิควิศวกรรมเพื่อการเพิ่มผลผลิต

(IE Techniques)

ดาวน์โหลดไฟล์ PDF

 

หลักการและเหตุผล

เทคนิควิศวกรรมเพื่อการเพิ่มผลผลิต (IE Techniques) เป็นกลุ่มของเทคนิควิธีที่มุ่งขจัดความสูญเสียต่าง ๆ ที่เกิดในกระบวนการผลิตและปรับปรุงกระบวนการ วิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การนำเอาเทคนิค IE มาใช้ในการเพิ่มผลผลิตสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อวิเคราะห์และหาแนวทางในการปรับปรุงงานได้ทั้งในระดับกระบวนการ (Process) การปฏิบัติงาน (Operation) และการเคลื่อนไหวร่างกายของพนักงาน (Motion) รวมไปถึงการวัดผลงาน และกำหนดเวลามาตรฐานซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นในการวางแผน และควบคุมการผลิต สำหรับเครื่องมืออื่นๆ ที่ถูกจัดอยู่ในเทคนิค IE ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ การวิจัยการดำเนินงาน การวางแผนและควบคุมการผลิต การวางผังโรงงานและการขนถ่าย วัสดุวิศวกรรมคุณค่า การวางผังโรงงาน การศึกษาวิธีการทำงาน ฯลฯ ก็อาศัยหลักการพื้นฐานเช่นเดียวกันในการประยุกต์ใช้กับงานที่แตกต่างกัน

เทคนิควิศวกรรมเพื่อการเพิ่มผลผลิต (IE Techniques) เป็นหลักสูตรในการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของการปรับปรุงกระบวนการ โดยเน้นด้านการศึกษาวิธีการทำงาน การวิเคราะห์เพื่อการปรับปรุง ตลอดจนเทคนิคการวัดผลงานเพื่อหาเวลามาตรฐานในการทำงาน

 

 วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจความหมาย และความสำคัญของการเพิ่มผลผลิต
  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจ และตระหนักถึงความสูญเสียต่างๆ ในกระบวนการผลิต
  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมรู้จักเทคนิควิศวกรรมอุตสาหกรรมชนิดต่าง ๆ และนำไปปรับใช้ในหน่วยงานได้
  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเรียนรู้ และเข้าใจเรื่องการศึกษาการเคลื่อนไหวและเวลา (Motion and Time Study) ซึ่งเป็นเทคนิคพื้นฐานของเทคนิค IE และสามารถนำไปปฏิบัติได้

 

 เนื้อหา

  • ความหมาย และความสำคัญของการเพิ่มผลผลิต
  • ความเป็นมา แนวคิด และความสำคัญของ IE Techniques
  • IE Techniques กับการเพิ่มผลผลิต
  • การศึกษาวิธีการทำงาน (Method Study)
  • พื้นฐานของ Work Study
  • การวิเคราะห์และปรับปรุงกระบวนการผลิต ขั้นตอนการปฏิบัติงาน และการเคลื่อนไหว
  • การวิเคราะห์และปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงาน
  • การวิเคราะห์และปรับปรุงการเคลื่อนไหว
  • เทคนิคการวัดผลงาน (Work Measurement) เพื่อหาเวลามาตรฐาน (Standard Time)

             - การจับเวลาโดยตรง

             - การสุ่มงาน และ

             - ระบบ PTS

 

 การประเมินผล

  • การทดสอบความรู้ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม (Pre test - Post test)
  • มีระบบการประเมินผลในการฝึกอบรม และนำมาวิเคราะห์เพื่อชี้วัดความสำเร็จ

 

รูปแบบการฝึกอบรม

  • การบรรยายแบบมีส่วนร่วม (Participative Techniques)
  • การระดมความคิดเห็น (Brainstorming)
  • เรียนรู้จากสื่อมัลติมีเดีย
  • Workshop

 

 เหมาะสำหรับ

ผู้จัดการ หัวหน้างาน วิศวกร ผู้ควบคุมเครื่องจักร จากฝ่ายผลิต หรือฝ่ายปรับปรุงคุณภาพ และผู้ที่เกี่ยวข้อง

 

 ระยะเวลา

1 วัน


16 มีนาคม 2563

ผู้ชม 1117 ครั้ง

Engine by shopup.com